ธรณีพิบัติภัย

ธรณีพิบัติภัย
ผลกระทบของภาวะโลกร้อนรูปแบบหนึ่ง

วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ธรณีพิบัติภัย







ธรณีพิบัติภัย เป็นภัยที่เกิดจากการสั่นสะเทือนอย่างรุนแรงในน้ำ เช่น แผ่นดินไหว แผ่นดินถล่ม การระเบิดของภูเขาไฟ ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของน้ำในแนวตั้ง เช่น การเกิดคลื่นสึนามิ คลื่นสึนามิ เกิดจากการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก บริเวณที่มีน้ำทะเลจำนวนมหาศาล ก่อให้เกิดคลื่นขนาดใหญ่ และกระจายออกไปทุกทิศทางในปัจจุบันพบว่า มี 4 สาเหตุหลัก คือ
1. แผ่นดินไหว
2. แผ่นดินถล่มใต้ทะเล
3. ภูเขาไฟระเบิด
4. อุกกาบาตพุ่งชนโลก
  • กรณีการเกิดธรณีพิบัติภัยในประเทศไทย

    เหตุการณ์การเกิดธรณีพิบัติภัยในวันที่ 26 ธันวาคม 2547 เกิดจากแผ่นเปลือกโลกอินเดียและแผ่นเปลือกโลกพม่าเคลื่อนตัวเข้าหากันก่อให้เกิดแผ่นดินไหวใต้ทะเลที่บริเวณทะเลฝั่งตะวันตกของเกาะสุมาตราตตอนเหนือมีความรุนแรงระดับ 8.9 ริคเตอร์ และเกิดอาฟเตอร์ช็อค มากกว่า 60 ครั้งใช้เวลาในการเคลื่อนตัวมายังบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทยประมาณ 1-2 ชั่วโมง และคลื่นมีความสูงประมาณ 0.8-1.7 เมตร แสดงอาณาบริเวณที่เกิดแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ซึ่งมี Epicenter ที่มหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันตกของเกาะสุมาตราตอนเหนือ ในเวลา 07:58 น. (ประเทศไทย) ซึ่งมีความรุนแรงในระดับ 8.9 ริคเตอร์ ซึ่งผลกระทบด้านด้านต่างๆที่เกิดขึ้นส่งผลเสียกับประเทศมากมายในด้านต่างที่เกิดขึ้นต่อประเทศที่เกิดผลกระทบซึ่งสามารถแยกออกเป็นในแต่ละด้านผลกระทบที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบอย่างมากด้านสังคัมและเศรษฐกิจภายในประเทศดังนี้
1.ผลกระทบต่อมนุษย์

  • จากเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย ทำให้มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 5,395 คน แบ่งเป็นคนไทย 2,059 คน ชาวต่างชาติ 2,436 คน และไม่สามารถระบุได้ 900 คน จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุด คือ จังหวัดพังงา 4,225 คน และจังหวัดตรังมีผู้เสียชีวิตน้อยที่สุดจำนวน 6 คน มีผู้บาดเจ็บทั้งหมด 8,457 คน แบ่งเป็นคนไทย 6,065 คน และชาวต่างชาติ 2,392 คน โดยจังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บมากที่สุด คือ จังหวัดพังงา 5,597 คน และจังหวัดสตูลมีผู้บาดเจ็บน้อยที่สุดจำนวน 15 คน มีรับแจ้งสูญหายทั้งหมด 2,817 คน แบ่งเป็นคนไทย 1,921 คน และชาวต่างชาติ 896 คน จังหวัดพังงามีรับแจ้งสูญหายสูงสุด 1,655 คน และจังหวัดสตูลไม่มีการรับแจ้งสูญหา
2.ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
  • ในพื้นที่ 6 จังหวัดพิจารณา 7 ประเภท ได้แก่ แนวปะการัง ชายหาด ป่าชายเลน แหล่งน้ำจืด พื้นที่ทิ้งขยะและระบบบำบัดน้ำเสีย, สภาพพื้นที่เสื่อมโทรมหรือดินเค็ม และป่าไม้ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
  • แนวปะการังมีผลกระทบทั้งหมด 4,321 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ได้รับผลกระทบเล็กน้อยประมาณ 3,146 ไร่ และได้รับผลกระทบมาก 1,175 ไร่ ซึ่งแนวปะการังที่ได้รับผลกระทบเล็กน้อยส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดกระบี่ (3,125 ไร่) และแนวปะการังที่ได้รับผลกระทบมากอยู่ในจังหวัดพังงา (625 ไร่) และจังหวัดสตูล (550 ไร่)
  • ชายหาดได้รับผลกระทบมากที่สุด มีพื้นที่ได้รับผลกระทบทั้งหมดประมาณ 6,200 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดพังงา (5,000 ไร่) จังหวัดสตูล (1,200 ไร่) และจังหวัดกระบี่
  • ป่าชายเลน ได้รับผลกระทบทั้งหมด 2,495 ไร่ แบ่งเป็น ได้รับผลกระทบน้อย 1,940 ไร่ และได้รับผลกระทบมาก 555 ไร่ สำหรับพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบน้อยส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดพังงา (1,900 ไร่) พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมากจะอยู่ในจังหวัดระนอง (555 ไร่)
  • แหล่งน้ำจืด ได้รับผลกระทบค่อนข้างมากและส่งผลกระทบต่อประชาชน ซึ่งพบว่าบ่อ น้ำตื้นได้รับผลกระทบ 136 บ่อ บ่อน้ำบาดาล 149 บ่อ แหล่งน้ำผิวดิน 122 แห่ง และระบบประปา 50 ระบบ โดยจังหวัดกระบี่ และจังหวัดภูเก็ตเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมาก พื้นที่ทิ้งขยะและระบบบำบัดน้ำเสีย ได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อย และระบบบำบัด น้ำเสียได้รับผลกระทบ 2 แห่ง ในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองป่าตอง และเทศบาลตำบลกะรน
  • สภาพพื้นที่เสื่อมโทรม พื้นที่ที่ประสบปัญหาดินเค็มทั้งหมด 3,975.5 ไร่ พื้นที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดพังงา (3,500 ไร่) และจังหวัดระนอง (412 ไร่) ป่าไม้ได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อย โดยได้รับผลกระทบทั้งหมด 4,000 ไร่ จังหวัดพังงาได้รับผลกระทบมากที่สุด 3,500 ไร่ และจังหวัดภูเก็ต พบว่าป่าไม้บริเวณชายหาดมีสภาพเหี่ยวเฉา
  • ผลกระทบเหล่านี้ ถึงจะเป็นภัยธรรมชาติที่อาจส่งสัญญาณให้เราร้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นแสดงถึงผลกระทบที่มนุษย์เริ่มล้ำเส้นเบียดเบียนธรรมชาติมากขึ้นไปทุกขณะ โลกที่ร้อนขึ้นทุกขณะและทุกทกที่บนโลกกำลังเตือนเราไม่ใช่แค่ ญี่ปุ่น เฮติ เท่านั้น แต่ไทยควรระวังตั้งแต่เกิสึนามิที่เกิดขึ้นเพื่อเตือนว่า "เราทำอะไรอยู่" ? คุณคงไม่อยากเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับ "คนที่คุณรักหรอกถูกไหมค่ะ " หากเกี่ยงว่าเป็นหน้าที่ของใครก็ไม่มีใครตอบคุณได้หรอกค่ะ เพราะคุณต้องตอบตัวเองเท่านั้นว่าคุณยังอยากเห็นโลกที่เป็นเหมือนบ้านของมนุษย์ทุกคนเป็นอย่างไร
เนื้อหาเพิ่มเติม

อ้างอิงจาก :